หมวดหมู่: การบริหารความมั่งคั่ง, การลงทุน

วันที่บทความ: 06/05/2563

รวมแอปฯ และแพลตฟอร์มดีๆ ในสถานการณ์ COVID-19

          จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทุกคนต่างตื่นตัวและเตรียมความพร้อมในการหาแนวทางป้องกันตัวเองจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 แต่อย่าเพิ่งวิตกกังวลมากจนเกินไป เพราะเราสามารถป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 ได้ด้วยตัวเอง เพียงหมั่นล้างมือให้สะอาด สวมหน้ากากป้องกันโรค รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ รักษาร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการสัมผัส ใกล้ชิด หรือคลุกคลีกับผู้ติดเชื้อ หรือไปในสถานที่แออัด และประเทศที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ
          หลายหน่วยงานได้พัฒนาแพลตฟอร์ม แอปฯ ในสถานการณ์ COVID-19 เพื่อให้ความรู้และเป็นการเฝ้าระวังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 วันนี้ กอช. จึงได้รวบรวมแพลตฟอร์มดีๆ สำหรับผู้ที่อยากติดตาม หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการระบาดของไวรัส COVID-19 มาแบ่งปันกัน

  1. ใกล้มือหมอ” อุ่นใจเหมือนมีแพทย์อยู่ด้วย 24 ชม. เช็คอาการ COVID-19 แค่ปลายนิ้ว ย่อตำราแพทย์ฉบับเข้าใจง่าย หวังช่วยคนไทย “รู้เร็ว รักษาเร็ว หายเร็ว” แถมเป็นตัวช่วย อสม. คัดกรองโรคเบื้องต้นกว่าพันโรค ชวนโหลดใช้งานฟรี
  2.  “AOT Airports” และ “Vwatch (Virus watching system)” เก็บข้อมูลนักท่องเที่ยวต่างชาติทุกประเทศทุกสนามบิน และคนไทยที่มาจากประเทศเสี่ยง เพื่อสะดวกในการติดตามตัวหากมีการตรวจพบว่ามีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส COVID-19 ได้
  3. “COVID-19 Tracker” ผู้ใช้สามารถติดตามสถานะผู้ติดเชื้อ รวมถึงพื้นที่เสี่ยงต่างๆ โดยผู้คิดค้นได้ออกแบบให้การใช้งานนั้นง่ายต่อการเข้าใจ โดยใช้สัญลักษณ์ต่างๆ บนแผนที่ เช่น เคสใดที่มีการคอนเฟิร์ม การติดเชื้อจะเป็นจุดวงกลมสีแดงกระพริบ เคสที่ผู้ป่วยรักษาหายแล้วจะเป็นไอคอนสีเขียว พื้นที่ที่ปิดเพื่อฆ่าเชื้อทำความสะอาดก็จะเป็นรูปสเปรย์สีฟ้า เป็นต้น
     ช่องทางการใช้งาน: https://covidtracker.5lab.co/
  4. ไทยรู้สู้โควิด” กระทรวงสาธารณสุข เพิ่มช่องทางการสื่อสารในชื่อ ไทยรู้สู้โควิด เพื่อให้ประชาชนสามารถติดตามสถานการณ์ ความรู้ คำแนะนำที่ถูกต้อง โดยมีทั้งหมด 4 ช่องทาง คือLine,Twitter,FacebookและTikTok

            ช่องทางการใช้งาน

            LINE: https://lin.ee/dAEig3e 

           Twitter: https://twitter.com/thaimoph
           Facebook : https://www.facebook.com/thaimoph

          TikTok : https://vt.tiktok.com/jcvfwN/

  1. ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม” โดย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) คอยติดตาม ตรวจสอบ ข้อมูลที่เผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ พร้อมวิเคราะห์แนวโน้ม และบ่งชี้ข้อมูลที่เป็นข่าวปลอม ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบข้อมูล ผลิตข้อมูลที่ถูกต้อง จัดส่งข้อมูลต่อหน่วยงานที่เป็นเจ้าของเรื่องประกอบการดำเนินการตามอำนาจ หน้าที่ และข้อสำคัญขั้นตอนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องต่อประชาชน และสาธารณชน จะผ่านกลไกภาคสื่อสารมวลชน
  2. “Covid Bot” เป็นช่องทางการประเมินอาการและความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัส COVID-19 ผ่านทางแชทบอท (Chatbot) หรือหมอเสมือนจริง หากประชาชนเกิดข้อสงสัยหรือมีคำถามในอาการของตนเองก็สามารถสนทนาและสอบถามผ่านทางแชทบอทได้โดยตรง และทางแชทบอทนั้นจะประเมินอาการรวมถึงให้คำแนะนำเบื้องต้นแก่ผู้สอบถาม
    ช่องทางการใช้งาน: https://www.facebook.com/covid19bot/
  3. สบายดีบอท (@sabaideebot)” เปิดให้ประชาชนเฝ้าระวังเรื่องไวรัส COVID-19 ผ่านทางแชทบอทผ่านทางแอปพลิเคชัน Line เพียงแอด @sabaideebot โดยนอกจากการถามตอบกับแชทบอทแล้ว ภายในหน้าแชทของสบายดีบอทนั้น ยังแบ่งออกเป็นอีก 6 หัวข้อ คือ บันทึกสุขภาพเพื่อร่วมเฝ้าระวัง สถานการณ์การระบาด ข้อมูลเกี่ยวกับ COVID-19 โรงพยาบาลที่เกี่ยวข้อง ประวัติสุขภาพ และฝากข้อความถึงทีมงาน ให้ผู้ใช้นั้นเลือกใช้ตามความต้องการ
    ช่องทางการใช้งาน: https://line.me/R/ti/p/@sabaideebot
  4. “Covid-19.th-stat.com” เป็นเว็บไซต์รายงานสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย เช่น จำนวนผู้ติดเชื้อในปัจจุบัน พื้นที่เสี่ยงการติดเชื้อ และการรายงานการพบผู้ติดเชื้อแบบวันต่อวัน พร้อมข้อมูลการเดินทางและสาเหตุการติดเชื้อ ภายในเว็บไซต์ยังมีการแสดงผลเป็นรูปแบบกราฟของจำนวนผู้ติดเชื้อตั้งแต่ช่วงระยะแรกของการระบาดของไวรัส COVID-19 รวมถึงสถิติข้อมูลของผู้ติดเชื้อ เช่น อายุ เพศ และสัญชาติ
    ช่องทางการใช้งาน: https://covid19.th-stat.com/
  5. “WorkPointNews” เป็นเว็บไซต์อีกช่องทางสำหรับการติดตามสถานการณ์ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก เน้นไปที่การแสดงรูปแบบข้อมูล โดยใช้แผนที่โลกและตารางในการแสดงจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้ที่หายแล้ว และผู้เสียชีวิต ในแต่ละประเทศ รวมถึงความเสี่ยงในการเดินทางไปแต่ละประเทศ โดยทางเว็บไซต์ยังมีการอัปเดตความคืบหน้าล่าสุดและความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับไวรัสCOVID-19อีกด้วย
    ช่องทางการใช้งาน: https://covid19.workpointnews.com/